วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

คำว่า "มีเหตุผล" คืออย่างไร ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คำว่า มีเหตุผล เป็นคำใหญ่ ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อพิจารณาตามคำศัพท์ แต่ละคำมีนิยามดังนี้

มี = ปรากฏขึ้น เกิดขึ้น เป็นขึ้น ดำรงอยู่ และเคลื่อนไปได้
เหตุ = สิ่งที่ก่อให้เกิดผล, ปัจจัยจำเพาะที่ก่อให้เกิดผลนั้น ๆ
ผล = สิ่งที่เกิดจากเหตุ, สิ่งที่มีเหตุเกิด


เหตุ เป็นสิ่งที่มาก่อนผล
ผล เป็นสิ่งที่มาหลังเหตุ ตามเหตุ

เมื่อมีเหตุ ก็จะมีผล
ถ้าไม่มีเหตุ ก็จะไม่มีผล
มีเหตุอย่างไร ก็มีผลอย่างนั้น

เหตุ-ผล เป็นชื่อของสภาวธรรม และสัจธรรม ปฏิบัติธรรมและปฏิเวธธรรม หรืออาจเรียกว่า เป็นตัวธรรมชาติและกฎธรรมชาติ หรือ หลักธรรมชาติ บทบาทธรรมชาติและผลธรรมชาติ ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปทั้งที่ตัวมนุษย์และสิ่งรอบ ๆ ตัวมนุษย์
เหตุกับผลมีความสัมพันธ์กัน

พระเรียกลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลเมื่อแสดงอาการออกมาว่า ปฏิจจสมุปปาท ซึ่งแปลว่า อาการที่อาศัยกันเกิดขึ้น นั่นคือ ผลอาศัยเหตุจึงบังเกิด ในขณะเดียวกัน ตัวผลนั้นเองก็มีฐานะเป็นเหตุก่อผลตัวอื่นตามกันมา เช่น เมื่อมีฝนตก (ซึ่งมีเหตุให้ตก) ก็ส่งผลให้ดินชุ่มฉ่ำ เมื่อดินชุ่มฉ่ำ บรรดาพืชพันธุ์ไม้ทั้งหลายก็แตกดอกออกหน่อ ออกดอก ออกผล ผลนั้นก็เก็บเอาพันธุกรรมของพืชนั้นไว้ในเม็ดพันธุ์ เมื่อเมล็ดพันธุ์หล่นลงดิน ได้อุณหภูมิเหมาะก็ก่อตัวแตกหน่อเจริญเติบโตต่อไป ดังนี้ เป็นต้น กระบวนการเกิดมีดังว่านี้ พระเรียกว่า อิทัปปัจจยตา แปลว่า เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี

มนุษย์ทุกคนก็อยู่ภายใต้กฎนี้ และสภาวะนี้ คือ มีเหตุเกิด และเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา และปฏิจจสมุปทา ที่ว่านี้

การทำงานของกาย-ใจ มนุษย์ก็ขับเคลื่อนอยู่ภายใต้กฎนี้

ในส่วนกาย ที่บอกว่า ประกอบด้วยธาตุ 4 มี ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันขึ้นอย่างถูกส่วน โดยมีอากาศธาตุเป็นตัวกำกับ จากนั้น ตัววิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้ก็เกิด ซึ่งเรียกว่าจิตธาตุ ที่สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ จำได้ รู้สึกได้ คิดได้ รู้แจ้งได้ โดยอาศัยกลไกทางร่างกายทั้ง 6 ช่อง มีตา หู เป็นต้น ในตัวรับโลกภายนอกเข้าสู่กายในกาย - ใจ (จิต) เพื่อหล่อเลี้ยงกายและจิตให้ดำรงอยู่และให้ขับเคลื่อนไป ตามเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องกัน

จะเห็นว่า กายใจ ของมนุษย์ มีธรรมชาติเป็นแดนเกิด หรือเป็นผลผลิตของธรรมชาติ หรือธรรมชาติเป็นเหตุ ตัวมนุษย์เป็นผล การดำรงอยู่ของมนุษย์ก็ดำเนินไปภายใต้กฎธรรมชาติ หรือกฎแห่งเหตุผลนี้ กาย-ใจ มนุษย์อยู่ได้ด้วยเหตุปัจจัย คือ อาหารกายและอาหารใจ ภายในวัตถุธาตุ ก็ต้องการวัตถุธาตุ มีดิน น้ำ เป็นต้น เมื่อกายใจได้รับอาหารที่เหมาะสมถูกต้องตามกฎธรรมชาติ กายใจก็อยู่ได้ และเจริญ แต่ถ้าได้รับอาหารคลาดเคลื่อนผิดพลาดไม่เหมาะสม ก็อับเฉา มีอันตรายอ่อนแอและชีวิตก็อาจดับลง ขณะเดียวกันหากมีเหตุร้ายที่กายใจมนุษย์รับไม่ไหว ผลที่ตามมาก็คือสิ้นชีวิต หรือแตกดับได้เช่นกัน สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็เป็นเช่นนี้

จึงเห็นได้ว่าเรื่องเหตุ-ผล นั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ตัวมนุษย์ก็มีทั้งที่กายและที่ใจ และที่กาย-ใจเอง ก็มีความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน และกันอยู่ตลอด

ดังนั้น คำว่า "ความมีเหตุผล" ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จึงเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากทั้งในตัวความเป็นเหตุเป็นผลเอง เพราะเป็นธรรมชาติและเป็นกฎธรรมชาติรวมทั้งเป็นบทบาทของธรรมชาติ และผลของธรรมชาติทั้งปวง และในการกระทำของมนุษย์ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

เมื่อกายใจของมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่ง คือ เป็นผลของธรรมชาติ อยู่ภายใต้กฎ บทบาท ผลลัพธ์ของธรรมชาติ

ดังนั้น การดำรงอยู่ ขับเคลื่อนไปเพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ ทั้งทางการรับเข้า สื่อออกแสดงออก หรือ การกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็ต้องเป็นไปให้สอดคล้องต้องตามธรรมชาติ กฎธรรมชาติ บทบาทธรรมชาติ และผลธรรมชาติ จึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี ขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี ไม่ติดขัดไม่อันตราย เกิดความพอดี พอเพียง ปลอดภัยทั้งปวงได้

แต่ด้วยเหตุที่มนุษย์มีข้อจำกัดเมื่ออุบัติขึ้นมานั้น มีทุนเพียงธาตุ ทั้งที่เป็นกายธาตุ และจิตธาตุต้องมาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยธาตุหลัก ทั้ง 2 ที่มีอยู่ จึงจะรู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไร ใครเป็นใคร จะรับอะไร เข้าบ้าง จะแสดงออก โต้ตอบอย่างไร นั้น ต้องอาศัยการฝึกตน ให้รู้ก่อนว่าอันใด มีคุณ อันใดมีโทษต่อตน แล้วค่อยเลือกรับสิ่งมีคุณ ไม่รับสิ่งมีโทษและหรือแสดงสิ่งมีคุณ ไม่แสดงสิ่งมีโทษ

การฝึกกายใจให้รู้สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวของมนุษย์ จึงเป็นกิจกรรมใหญ่สุด ๆ เพราะเมื่อรู้ดีแล้วก็จะคิดได้ทำได้ถูก ทำได้ดี มีคุณต่อตนและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน รวมทั้งพืช สัตว์ อื่นๆ ด้วย

ความมีเหตุผล ความเป็นเหตุเป็นผลเป็นกฎธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นหลักใหญ่ของสรรพสิ่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้กระทั่งที่ตัวมนุษย์

หากมนุษย์มิได้ฝึกตนให้ได้เรียนได้ รู้ความเป็นเหตุเป็นผลดั่งว่านี้ เป็นเบื้องต้นแล้ว มนุษย์ก็มิอาจกระทำให้สอดคล้องต้องตามหลักเหตุผลที่ว่านี้ได้ เมื่อทำไม่ได้หรือทำผิดพลาดในตัวเหตุก็จะผิดพลาดในตัวผล ไม่อาจเป็นไปตามเจตน์จำนงของผู้กระทำได้ หรือเป็นไปตามเจตน์จำนง แต่ถ้าเจตน์จำนงนั้นไม่ต้องตามกฎธรรม ผลก็คลาดเคลื่อนจากผลดีเป็นผลเสียก็เป็นได้

จึงเห็นได้ว่า ปัญหาใหญ่ของมนุษย์อยู่ตรงนี้ คือ ความไม่รู้เหตุรู้ผล ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล อะไร จึงทำไป คิดไป พูดไป ตามความรู้สึกนึกคิด ซึ่งถือว่า เป็นความอ่อนด้อยของมนุษย์ พระพุทธองค์ ทรงตระหนักเรื่องนี้ จึงทรงพยายามเรียนรู้อย่างยิ่งยอด และพบว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผลของอะไร และถ้ามนุษย์อยากจะหลุดจากความสุข ความทุกข์ทั้งกายใจ ควรจะรู้อะไร คิดอะไร และทำอะไร อย่างไร ทำไม ที่ไหน เมื่อใด พุทธธรรมทั้งหมดตอบคำถามเหล่านี้

การที่บอกว่า ให้รู้อริยสัจ 4 ก็ คือ ให้รู้เรื่องเหตุผล
การให้รู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท ก็คือ ให้รู้เรื่องเหตุผล

คือ ให้รู้ว่าอะไร คือ ตัวทุกข์ ตัวสุข ก็คือให้รู้ตัวสภาพความจริงและเป็นตัวผล (รู้ทุกข์)
แล้วให้โยงต่อไปหาเหตุว่ามีอะไรเป็นเหตุ (รู้สมุทัย)
ให้รู้ว่าการดับเหตุได้ ผลคือตัวทุกข์-สุข มันก็จะดับลงด้วย (รู้นิโรธ)
และให้รู้วิธีดับเหตุนั้น ต้องหรือควรทำอย่างไร จึงจะดับได้ (รู้มรรค)


การให้รู้อริยสัจ ก็คือ การให้รู้อย่างนี้ และการให้รู้อย่างนี้ก็คือ การรู้เหตุรู้ผล เมื่อรู้เหตุรู้ผล ก็สามารถคิดทำตามเหตุตามผล เมื่อทำตามเหตุตามผล ก็จะได้ผลตามเหตุตามผลนั้น
ภาษาพระท่านเรียกสั้น ๆ ว่า "รู้ธรรม ทำตามธรรม ก็จะได้ผลตามธรรม"

แต่ถ้าไม่รู้ธรรม ก็ไม่อาจคิด-ทำตามธรรม ผลก็มิอาจเกิดตามธรรม คือ เกิดนอกธรรม ซึ่งไม่เป็นคุณต่อธรรม คือ ตัวมนุษย์ และธรรมทั้งปวง จึงเห็นได้ว่า เมื่อพูดถึง คำว่าเหตุผล หรือมีเหตุผล เพียงคำเดียวนี้ แต่เพราะความมีเหตุผลในคำว่า มีเหตุผล มันจึงโยงใยไปถึงคำอื่น ๆ ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยทุก ๆ คำ คือ

โยงกับ คำว่า พอเพียง พอประมาณ พอมี พอกิน พอใช้
โยงกับคำว่า มีภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม
โยงกับคำว่า มีความรอบรู้ รอบคอบ
โยงกับคำว่า มีคุณธรรม
และยิ่งไปกว่านั้น

ยังโยงกับมนุษย์ การกระทำของมนุษย์การอยู่ การกิน การใช้ของมนุษย์ สัตว์ และพืช ทั้งปวงอีกด้วย

ทั้งนี้ก็เพราะว่า มนุษย์สัตว์สิ่งของใด ๆ ก็ตามที่ปรากฏอยู่ในเอกภพนี้ ล้วนตั้งอยู่ภายใต้กฎเหตุผลนี้ทั้งนั้น คือ ต่างก็ดำรงอยู่และขับเคลื่อนไปตามกฎนี้

และความมีเหตุผล ความเป็นเหตุ เป็นผลนี้เอง คือ ทางสายกลาง และสายเดียว ที่มนุษย์สัตว์ พืช ต้องเดินตามและการกระทำหรือเดินตามทางสายกลางก็คือเดินตามทางของเหตุ-ผลนี้เอง นี้คือ คำตอบที่ผู้เขียนมองเห็นในประเด็นคำถามที่ว่า "ความมีเหตุผล คืออย่างไร?" ตอบสั้น ๆ ก็ คือ อย่างนี้แหละ หรือท่านทั้งหลายคิดอย่างไรลองช่วยกันคิดดู

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทำไมแป้นพิมพ์ ไม่เรียง A B C


..... รู้หรือป่าว !! ทำไม ตัวอักษรในแป้นพิมพ์ทั้งของเครื่องพิมพ์ดีดและคอมพิวเตอร์ ถึงไม่เรียงกันตามลำดับอักษรเช่น A B C

สำหรับการเรียงอักษรบนแป้นพิมพ์ในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเรียง ที่เรียกว่า QWERTY (คิวเวอร์ตี้) ที่เรียกกันอย่างนี้เพราะเป็นการนำอักษร 6 ตัวแรก(เมื่อนับจากซ้ายมาขวา) ของแป้นพิมพ์ที่เป็นตัวอักษรแถวบนมาต่อกัน และถ้าหากจะถามว่าทำไมถึงต้องเรียงแบบนี้ เราคงต้องย้อนกลับไปในอดีตกันซะหน่อย

การเรียงลำดับ อักษรของแป้นพิมพ์ในปัจจุบันนั้น มีที่มาจากข้อจำกัดที่เกิดกับเครื่องพิมพ์ดีดในยุคแรกๆ ที่ยังจัดแป้นพิมพ์แบบเรียงตามลำดับตัวอักษรคือ เมื่อคนที่พิมพ์ดีดได้คล่องและเร็วมาพิมพ์จะทำให้ก้านพิมพ์ดีดขัดกันอยู่ เสมอ ต่อมา คริสโตเฟอร์ ลาแธม โชลส์ วิศวกรเครื่องกลชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ดีดสมัยใหม่รายแรกและได้รับสิทธิบัตรในปี 1868 จึงทำการเรียงลำดับตัวอักษรเสียใหม่ด้วยการแยกตัวอักษรที่มักใช้มาผสมเป็นคำ ร่วมกันบ่อยๆ ออกไปอยู่กันคนละฝั่งของแป้นพิมพ์ เพื่อทำให้นักพิมพ์ดีดพิมพ์ได้ช้าลงกว่าเดิม จะได้ไม่เกิดปัญหาก้านพิมพ์ขัดกันอีก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกผู้คนยังคงไม่นิยมเครื่องพิมพ์ดีดของเขามากนัก ทำให้โชลส์ตัดสินใจขายสิทธิบัตรดังกล่าวให้กับทางบริษัท เรมิงตันอาร์มคอมพานี ในปี 1973 ซึ่งปรากฏว่าหลังจากที่ทางเรมิงตันผลิตเครื่องพิมพ์ดีดออกมาจำหน่าย ความนิยมในตัวเครื่องพิมพ์ดีดกลับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ใน เวลาต่อมา ปรากฏว่ามีผู้พยายามจัดเรียงตัวอักษรบนแป้นพิมพ์เป็นแบบต่างๆ ซึ่งแบบที่ได้รับความนิยมมากหน่อยก็อย่างเช่น แบบ DVORAK ซึ่งเคยมีการบอกกล่าวกันว่าการเรียงในรูปแบบนี้จะทำให้พิมพ์เร็วขึ้น จนทางห้างร้านบริษัทหลายแห่งเริ่มนิยมกันอยู่พักหนึ่ง แต่ว่าในปี 1956 ทาง General Services Administration ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่หน่วยงานอื่นๆของรัฐ ได้ทำการศึกษาการจัดแป้นพิมพ์ทั้ง 2 แบบ และก็พบว่า การจัดแบบ QWERTY นั้น ทำให้พิมพ์ได้เร็วเท่ากับหรือมากกว่าแบบ DVORAK ทำให้ความนิยมของการจัดแป้นพิมพ์แบบ DVORAK ลดลงไป

ทั้ง นี้ หลายคนอาจจะคิดว่า ปัจจุบันเราก็ไม่ได้นิยมใช้พิมพ์ดีดแบบเมื่อก่อนแล้ว ดังนั้นปัญหาเรื่องก้านพิมพ์ขัดกันก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาต่อไป แล้วทำไมเราจึงไม่เปลี่ยนกลับไปใช้แป้นพิมพ์แบบเรียงตามตัวอักษรเหมือนก่อน ซึ่งคำตอบสำหรับคำถามนี้หลายคนคงพอเดากันได้ว่าเป็นเพราะ เราคุ้นเคยและเคยชินกับแบบ QWERTY จนไม่อยากจะกลับไปเสียเวลาเริ่มนับหนึ่งกับแบบเดิมเสียแล้ว

ปล. แป้นพิมพ์ภาษาไทย ก็ให้เหตุผลเดียวกัน


วิธีการถนอมอาหาร

วิธีการถนอมอาหาร
ในบางฤดูกาลมีผลผลิตประเภทอาหารมากมาย ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารสดๆได้หมด แต่เราสามารถเก็บรักษาอาหารนั้นไว้รับประทานต่อไปได้ด้วยวิธีการถนอมอาหาร ซึ่งการเลือกวิธีการถนอมอาหารที่เหมาะสมจะทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้นาน และสามารถรับประทานได้ตลอดฤดูกาล โดยที่อาหารไม่บูดเน่าเสียหรือต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์
การถนอมอาหารด้วยวิธีการต่างๆมีดังนี้

1.การถนอมอาหารโดยตากแห้งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ โดยนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุดเพื่อให้เอนไซม์ในอาหารไม่สามารถทำงานและบัตเตรีไม่สามารถที่เจริญเติบโตได้ในของแห้ง
สำหรับวิธีการตากแห้งอาจใช้ความร้อนหรือความร้อนจากแหล่งอื่น เช่น ตู้อบ เป็นต้นถ้าใช้แสงแดดควรมีฝาชีหรือตู้ที่เป็นมุ้งลวดป้องกันแมลงและฝุ่นละออง อาหารที่ผ่านวิธีการตากเเห้งแล้ว เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น

2.การดองเป็นการถนอมอาหารโดยใช้สารปรุงแต่งให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน หรือมีรสผสมทั้งเปรี้ยว เค็ม หวาน อุปกรณ์ที่ใช้ดองควรเป็นพวกเครื่องแก้ว ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น หม้อ อะลูมีเนียม เป็นต้น เพราะในขณะดองอาจมีกรดเกิดขึ้นซึ่งกรดพวกนี้จะทำปฏิกิริยากับโลหะทำให้เกิดสารพิษในอาหรสำหรับปรุงรสที่ใช้ ได้แก่ เกลือ น้ำตาล น้ำส้มบริสุทธิ์ ส่วนอาหารที่ใช้วิธีดอง เช่น มะม่วงดอง ผักกาดดอง หน่อไม้ดอง เป็นต้น

3.การถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาล
การถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลนิยมใช้กับพวกผลไม้ โดยทั่วไปแล้วผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
จะนิยมใส่น้ำตาลมาก การใช้น้ำตาลเพื่อการถนอมอาหารมีหลายวิธี ดังนี้
1. การเชื่อม
ใช้ความเข้มข้นของน้ำตาลแตกต่างกันตามอัตราส่วน ดังนี้
1.น้ำเชื่อมใส ใช้น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 3 ถ้วย
2.น้ำเชื่อมปานกลาง ใช่น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 2 ถ้วย
3.น้ำเชื่อมเข้มข้น ใช้น้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 1ถ้วยการเชื่อมนิยมใช้กับผลไม้บรรรจุกระป๋อง หรือขวด ที่เรียกว่า ลอยแก้ว เช่น เงาะกระป๋อง ลิ้นจี่กระป๋อง เป็นต้น

2. การทำแยม
เป็นการใส่น้ำตาลในเนื้อผลไม้ที่มีน้ำปนอยู่ส่วนมาก แล้วกวนให้เข้ากัน เช่น แยมส้ม แยมสับปะรด เป็นต้น

3.การแช่อิ่ม
เป็นการใส่น้ำตาลในปริมาณมาก โดยการแช่ในน้ำเชื่อม และเพิ่มความเข้มข้น ของน้ำเขื่อมจนถึงจุดอิ่มตัว แล้วนำมาทำแห้ง สมัยก่อนนิยมใช้วิธีการถนอมอาหารนี้กับผลไม้ ปัจจุบันนำผักหลายชนิดมาแช่อิ่ม แล้วจัดจำหน่ายจนเป็นที่นิยมในท้องตลาดเช่น ลูกตำลึง ก้านบอระเพ็ด ลูกมะกรูด เป็นต้น

4.การถนอมอาหารโดยการแช่แข็ง
การแช่เเข็งเป็นการถนอมอาหาร โดยการใช้อุณหภูมิต่ำ โดยการควบคุมจุลินทรีย์ และบัตเตรีไม่ให้สามารเจริญเติบโตได้ นิยมใช้กับอาหารสด อาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว และบรรจุภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ซึ่งผู้บริโภคซื้อแล้วสามารถนำไปอุ่นก่อนรับประทาน ในปัจจุบันนิยมแพร่หลายถึงแม้ว่าจะมีราคาสูง เพราะช่วยประหยัดเวลาเเละเเรงงาน ในการประกอบอาหาร นอกจากนี้ อาหารแช่เเข็งจะสดและมีรสชาติดีกว่าอาหารกระป๋อง

5.การถนอมอาหารโดยใช้สารปรุงแต่งอาหาร
การใช้สารปรุงแต่งอาหารเป็นการถนอมอาหาร เพื่อหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงการทำงาน
ของเอนไซม์หรือปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เก็บรักษาอาหารได้นานขึ้งหรือตกแต่งอาหาร
สารปรุงแต่งที่นิยมใส่ในอาหาร มีดังนี้
1.) สารกันบูด ถ้าใช้เพียงเล็กน้อยจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าใช้มากแม้แต่เกลือก็เป็นพิษต่อร่างกายไม่ควรใช้มากหรือบ่อยจนเกินไป ส่วนปริมาณที่ใช้อย่างปลอดภัย
ควรใช้สารกันบูด 1 กรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม
2) สีผสมอาหาร ควรใช้สีจากธรรมชาติ หรือสารเคมีที่ได้รับอนุญาตให้ใส่ในอาหาร ขององค์การเภสัชกรรม
3) สารเคมี ช่วยในการควบคุมความเป็นกรด ด่าง เกลือในอาหารควบคุมคุณสมบัติทางกายภาพของอาหาร ทำให้อาหารสด เช่น ทำให้ผลไม้สุกช้าหรือทำให้สุกเร็ว เช่น พวกแก๊สบ่มผลไม้ เป็นต้น ก่อนใช้ควรศึกษาและดูคำแนะนำในซอง หรือฉลากที่ปิดไว้ข้างภาชนะบรรจุ

6.การรมควัน
การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้งธรรมดา นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้นาน มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก การรมควันที่สามารถทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติิโดยการสุมไฟด้วยไม้กาบมะพร้าว ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด ให้แขวนอาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วยทำให้อาหารแห้งเร็ว เช่น รมควันปลา เป็นต้น

ที่มา : http://food-recipes.vzazaa.com/2009/article/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3/

มารู้จักปุ่ม F บนคีย์บอร์ดกันดีกว่า




หากพูดถึงปุ่มตระกูล F (Function) บนแป้นคีย์บอร์ด น่าจะเป็นปุ่มที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ต้องพบเห็นบ่อยๆ และคุ้นเคยกันดี เนื่องจากมันถูกวางเรียงอยู่แถวบนสุดของคีย์บอร์ด แถมยังมีจำนวนมากตั้งแต่ F1 ไปจนถึง F12

แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าปุ่มตระกูล F เหล่านี้มีประโยชน์อย่างไรกันบ้าง เอาเป็นว่าเราลองมาทำความรู้จักคุณสมบัติเฉพาะตัวของปุ่มลัดเหล่านี้กันดีกว่า เพื่อว่าคราวต่อไปคุณจะได้ใช้ประโยชน์กับมันได้มากขึ้น

F1 - นี่คือปุ่มทางลัดเข้าสู่คู่มือช่วยเหลือ (Help) ของโปรแกรมต่างๆ และถ้าคุณกดปุ่ม Windows Key ตามด้วย F1 มันก็คือปุ่ม Help ของโปรแกรมไมโครซอฟท์นั่นเอง

F2 - ถ้าคุณกดปุ่มนี้ขณะอยู่บนจอเดสก์ท็อป มันคือการไฮไลต์โฟลเดอร์หรือไฟล์เพื่อเตรียมจะเปลี่ยนชื่อ และถ้าอยู่บนโปรแกรม Microsoft Word เมื่อคุณกดปุ่ม Ctrl + F2 มันคือการ Preview เอกสารก่อนพิมพ์

F3 - ปุ่มนี้ใช้เป็นทางลัดเข้าสู่ระบบ Search ของโปรแกรมต่างๆ

F4 - กดปุ่ม Alt + F4 คือการออกจากโปรแกรมที่กำลังใช้งาน

F5 - เมื่อกำลังท่องเว็บไซต์ กดปุ่มนี้คือการทำ Refresh หรือ Reload หน้าเว็บไซต์อีกครั้ง

F6 - คือปุ่มที่ใช้เลื่อน Cursor ไปยัง Address Bar ขณะใช้งานเว็บเบราว์เซอร์

F7 - กดปุ่มนี้เมื่ออยู่ใน Microsoft Word คือการเรียกเช็กระบบตรวจสอบคำผิด

F8 - ปุ่มลัดใช้เรียก Start Menu เวลาอยู่ใน Safe Mode

F9 - ปุ่มลัดเข้าสู่ระบบวัดระยะของโปรแกรม Quark 5.0

F10 - กดปุ่ม Shift + F10 คือการทำงานเสมือนคุณกำลังคลิกขวาที่เมาส์

F11 - กดปุ่มนี้เพื่อการเรียกดูเบราว์เซอร์แบบ Full Screen

F12 - ใช้เป็นคำสั่ง Save as เมื่ออยู่ในโปรแกรม Microsoft Word

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์

มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น[5]

คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด

ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยี 2 ชนิดที่แยกจากกัน ได้แก่ โปรแกรมคำนวณแบบอัตโนมัติ กับ โปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้น แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีใดชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแต่ละโปรแกรมนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน ในอดีต เครื่องมือจำพวกหนึ่ง อย่าง ลูกคิดของชาวสุเมเรียน ที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อน ค.ศ.[6] ที่ซึ่งลูกหลานเคยชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณโดยใช้เครื่องคำนวณสมัยใหม่ชนิดวางบนโต๊ะที่ประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1946[7] ถือเครื่องช่วยคำนวณที่ประสบความสำเร็จและอยู่รอดมาเป็นศตวรรษ คำนวณจนกระทั่งถึงยุคของเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษ 1620 – 1629 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ที่ถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย[8] นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อน ค.ศ.[9] ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด[10]
ราวๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง)[11] ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใดๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย) [12]
ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล[13] เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์[14] เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น[15] ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ[16][17] และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา[18] นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์[19] ขึ้นได้โดยบังเอิญ[20] ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ชนิดของเครือข่าย
ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
อุปกรณ์เครือข่าย
  • เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย .
  • ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
  • ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
  • สวิตซ์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล
  • เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
  • เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

   การเลือกที่ปลูก
        การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดเป็นการปลูกผักบุ้งจีนแบบหว่าน หรือโรยเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรง เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว 20-25 วัน จะถอนต้นผักบุ้งจีนทั้งต้นและรากออกจากแปลงปลูกไปบริโภคหรือไปจำหน่ายต่อไป ในการปลูกนั้นควรเลือกปลูกในที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก สภาพที่ดอน น้ำไม่ท่วม หรือเป็นแบบสวผักแบบยกร่อง เช่น เขตภาษีเจริญ บางแค กรุงเทพฯ บางบัวทอง นนทบุรี นครปฐม และราชบุรี เป็นต้น ลักษณะดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย เพื่อถอนต้นผักบุ้งจีนได้ง่าย และควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการรดน้ำในช่วงการปลูก และทำความสะอาดต้นและรากผักบุ้งจีนในช่วงการเก็บเกี่ยว

  การเตรียมดิน
      ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่มีระบบรากตื้น ในการเตรียมดินควรไถตะตากดินไว้ประมาณ 15-30 วัน แล้วดำเนินการไถพรวนและขึ้นแปลงปลูก ขนาดแปลงกว้าง 1.5-2 เมตร ยาว 10-15 เมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 40-50 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยคอก (มูลสุกร เป็ด ไก่ วัว ควาย) หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียดพอสมควรปรับหลังแปลงให้เรียบเสมอกัน อย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อ เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนจะขึ้นไม่สม่ำเสมอทั้งแปลง ถ้าดินปลูกเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อ

    วิธีการปลูก
       ก่อนปลูกนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนไปแช่น้ำนาน 6-12 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนดูดซับน้ำเข้าไปในเมล็ด มีผลให้เมล็ดผักบุ้งจีนงอกเร็วขึ้น และสม่ำเสมอกันดี เมล็ดผักบุ้งจีนที่ลอยน้ำจะเป็นเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ควรนำมาเพาะปลูก ถึงแม้จะขึ้นได้บ้าง แต่จะไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจจะเป็นแหล่งทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย นำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ดีไม่ลอยน้ำมาหว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงให้เมล็ดห่างกันเล็กน้อย ต่อจากนั้นนำดินร่วนหรือขี้เถ้าแกลบดำหว่านกลบเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนหนาประมาณ 2-3 เท่าของความหนาของเมล็ดหรือประมาณ 0.5 เซนติเมตร แต่ถ้าแหล่งที่ปลูกนั้นมีเศษฟางข้าว จะใช้ฟางข้าวคลุมแปลงปลูกบาง ๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน หรือทำให้หน้าดินปลูกผักบุ้งจีนไม่แน่นเกินไป รดน้ำด้วยบัวรดน้ำหรือใช้สายยางติดฝักบัวรดน้ำให้ความชื้น แปลงปลูกผักบุ้งจีนทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 2-3 วัน เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน จะงอกเป็นต้นผักบุ้งจีนต่อไป
    ที่มา : http://www.ldd.go.th/web_study_center/khoahinson/plantAll/china/6.html

วิธีเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

วิธีเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
สิ่งสำคัญที่เราต้องจำไว้เป็นอันดับแรกคือ คนที่จะเป็นผู้ใช้งานเครื่องคอมพ์ที่คุณจะซื้อก็คือตัวคุณเอง ไม่ใช่เพื่อน พนักงานขาย หรือกูรูด้านไอทีที่เขียนบทความแนะนำต่างๆ เพียงคุณรู้หลักง่ายๆ ต่อไปนี้ ก็จะช่วยให้การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ซีพียู (CPU) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor)เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซีพียูจะมีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีความเร็วที่สูงกว่าเดิมมาก และมีจำนวนแกน Core มากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU 2 ค่ายดัง ได้แก่ Intel และAMD

เมนบอร์ด (Main Board)
หลังจากเลือกค่ายผู้ผลิตได้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นจะเป็นการเลือก Main board ที่ต้องการใช้งาน โดยต้องเลือกให้รองรับกับ CPU ที่เลือกไว้ โดยยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Asus, Gigabite, Intel, ... ซึ่งการเลือกเมนบอร์ดจะต้องดูข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยว่ารองรับอะไรบ้าง

แรม (RAM) หรือ หน่วยความจำ (Memory)
การเลือก RAM จะพิจารณาในเรื่องของ ประเภทของ RAM ซึ่งปัจจุบันจะนิยม DDR3 ที่มีความเร็วสูกว่า DDR2 จากนั้นจะความจุของ RAM ปัจจุบัน RAM ที่จะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ควรต่ำกว่า 2 GB ส่วนเรื่องจำนวน Slot, ความเร็ว RAM อาจจะต้องพิจารณาร่วมกับข้อจำกัดของ Main Board ด้วย สำหรับการรับประกันส่วนใหญ่จะ Life Time กันหมดแล้ว ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมได้แก่ Kingston, Kingmax, ...


ฮาร์ดดิส (Harddisk)
การเลือก Harddisk มักจะดูที่ความจุเป็นหลัก ส่วนการเชื่อมต่อปัจจุบันจะเป็นแบบ SATA II เกือบทั้งหมดแล้ว อีกอยากที่ควรสนใจคือระยะเวลารับประกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3-5 ปี สำหรับคุณสมบัติอื่น เช่น ขนาด 3.5 นิ้ว ความเร็ว 7,200 รอบต่อวินาที ส่วนยี่ห้อที่นิยมได้แก่ Seagate, Western, ...

การ์ดจอ (Display Adapter) หรือ กราฟิคการ์ด (Graphic Card)
การเลือกการ์ดจอให้พิจารณาจากการใช้งานเป็นหลัก กรณีที่ไม่ได้เอาไปเล่นเกมส์ หรือ งานออกแบบ 3 มิติ คุณสามารถเลือกซื้อการ์ดจอธรรมดาๆ มาใช้ได้เลย ส่วนที่ควรสนใจคือ ควรตรวจสอบเรื่องการเชื่อมต่อ (Slot) ว่ารองรับกับMainboard ที่คุณเลือกหรือไม่ เช่น AGP, PCI Express ที่สำคัญคือ ถ้าเมนบอร์ดของคุณมีการ์ดจอออนบอร์ดอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องซื้อการ์ดจอเลย (สังเกตุได้จากดูว่าเมนบอร์ดมีช่องต่อสายจอให้หรือเปล่า) สำหรับยี่ห้อให้ดูที่ ชิปเซต (Ship Set) ที่นิยมได้แก่ ATi, Nvidia , Intel

ที่มา : http://www.na-vigator.com/technology/computer-hardware/406-how-to-buy-computer

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการเลือกซื้อ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์

การเลือก CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ นี้ควรจะเป็นสิ่งแรก ที่ต้องนึกถึงก่อนอย่างอื่น ให้มองภาพให้ออกก่อนว่า CPU ที่มีใช้งานอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้มีรุ่นไหน ความเร็วเท่าไรกันบ้าง อย่าลืมว่า ยิ่ง CPU ที่มีความเร็วสูง ๆ ราคาก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย หากท่านเลือกซื้อ CPU ที่ราคาแพง ๆ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง CPU ที่คุณเคยภูมิใจนักหนา อาจจะมีราคาตกลงมา เหลือแค่หลักพันต้น ๆ ก็ได้ ดังนั้นควรเลือกซื้อ CPU ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณเองดีกว่า หากต้องการใช้งาน คอมพิวเตอร์ แบบธรรมดา ใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือก CPU ที่ราคาถูก ๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากใครต้องการเน้นไปที่ การใช้งานแบบหนัก ๆ ก็คงจะต้องเลือก CPU ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย อย่าลืมนะครับว่า ควรเลือกอุปกรณ์สำหรับเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย
     การแบ่งชนิดของ CPU ขอแบ่งออกตามการออกแบบ และชนิดของเมนบอร์ดที่ใช้งานดังนี้

-Intel Pentium 100-166 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 รุ่นแรก ๆ
-Intel Pentium MMX 166-233 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ที่ Support MMX
-AMD K6-II 266-366 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ทำงานที่ FSB 66 MHz
-AMD K6-II 350-550 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
-AMD K6-III 400-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
-Intel Pentium II 233-333 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 66 MHz
-Intel Pentium II 350-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
-Intel Pentium III 450-600 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
-Intel Pentium III Coppermine 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 FC-PGA
-Intel Celeron 266-533 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
-Intel Celeron II 566 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
-AMD Athlon 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
-AMD Duron 600 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
-Thunderbird 750 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket A ทำงานที่ FSB 200/266 MHz (DDR)
       

หากจะแบ่ง CPU ตามราคาต่าง ๆ แล้ว ก็อาจจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ       

  • CPU สำหรับตลาดระดับล่าง จะเป็น CPU ที่มีราคาค่อนข้างถูก คือ AMD K6II, AMD K6III, AMD Duron และ Intel Celeron






  • CPU สำหรับตลาดระดับกลาง จะเป็น CPU ที่มีราคาสูงขึ้นมา แต่จะได้ประสิทธิภาพต่าง ๆ มากขึ้นเช่น Intel Pentium II, Intel Pentium III หรือ AMD Athlon/Thunderbird






  • CPU สำหรับตลาดระดับสูง สำหรับงานที่ใช้ความเร็วค่อนข้างมากเช่นการทำ Server ต่าง ๆ ซึ่งขอไม่พูดถึง


  • วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    ขยายพันธุ์พืชโดยการต่อกิ่งเสียบยอดตอนที่2

    หลักการต่อกิ่งแบบเสียบข้าง
      เป็นพันธฺุ์ไม้ที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน  เช่น มะนาว มะกรูด ส้มและต้นตอเปป็นต้นตอที่มีอายุมากหรือมีกิ่งแก่  การต่อกิ่งมีข้อดีคือ ให้ท่อนพันธฺุ์น้อย  ให้ผลผลิตเร็ว ใช้ได้กับไม้ผล ไม้ประดับ


    พันธุ์ไม้ที่นิยมนำต่อกิ่  
    1.  โมก  เช่น  โมกป่ามาเป็นต้นตอ  มาต่อกิ่งกับโมกใบลาย
    2.  ส้มโอ  ส้มเขียวหวาน  มะกรูด  มะนาว
    3.  พริกไทย  เอาต้นโคโลมินั่ม  มาเป็น      ต้นต้อ  แล้วเสียบด้วยพริกไทยพันธุ์ดี
    3.  มะม่วง  มะม่วงพันธุ์พื้นเมืองมาเป็นต้นตอ  เอามะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้
    4.  โกสน  ต้นตอเป็นโกสนพันธุ์พื้นเมือง  นำโกสนพันธุ์ดี  พันธุ์ลูกผสมมาเสียบ
    5.  เล็บครุฑ   ใช้เล็บครุฑพันธุ์พื้นเมือง  เป็นต้นตอ  เล็บครุฑแคระมาเสียบ
    6.  เฟื่องฟ้า   เพื่อทำเฟื้องฟ้าหลากสี
    7.  ไทร  ใช้ไทรย้อย ไทรป่า เป็นต้นตอ   ใช้ไทรสาลิกาลิ้นทอง ไทรด่าง  ไทรใบถ้วย  ไทรแคะ  มาเสียบ
    8.  ผกากรอง  ใช้ผกากรองพันธุ์พื้นเมืองเป็นต้นตอ  ใช้ผกากรองเลื้อยเป็นกิ่งพันธุ์ดี

    ประโยชน์ของการต่อกิ่ง
    1.  ให้ผลผลิตเร็ว
    2.  ใช้ท่อนพันธุ์น้อย
    3.  ได้พืชพันธุ์ใหม่  ที่หลากหลาย  เช่น  ต้นเดียวกันหลายสี  ต้นเดียวกัน  มีพืชหลายชนิด  เช่น  ส้มโอ  มะกรูด  มะนาว  อยู่ในต้นเดียวกัน
    4.  เพิ่มคุณค่าของพันธุ์ไม้
    5.  เพิ่มราคา  โดยการใช้ศิลปะเข้ามาประกอบในการทำไม้ดัด  ไม้แคระ 


    ข้อดีของการต่อกิ่ง
    1.  ใช้ท่อนพันธุ์จำนวนน้อย
    2. ให้ผลผลิตเร็ว
    3.  ป้องกันโรคและแมลงได้ดี  เนื่องจากต้นตอเป็นพันธุ์ที่ทดต่อสภาพแวดล้อมได้ดี





    วิธีง่ายๆในการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงตอนที่3

    ขั้นตอนในการปลูก
     1.  เตรียมวัสดุในการปลูกให้พร้อม   ซึ่งได้แก่   กระถาง  เศษกระถางแตก   กาบมะพร้าวสับที่แช่น้ำไว้แล้ว  3  คืน บัวรดน้ำ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
    2.  นำเศษกระถางแตก  มารองก้นกระถาง  เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุไหลออกจากภาชนะ
    3.  นำกาบมะพร้าวสับที่แช่น้ำไว้  3  คืนแล้วมาใส่ในกระถาง ให้เกือบเต็ม 
    4.  ใช้ช้อนปลูกหรือใช้มือกดภาชนะปลูกให้เป็นรูปตัววี ( V )
    5.  นำต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาปลูก  แล้วให้มือกลบให้แน่น 
    6.  ใส่ปุ๋ยออสโมโคส สูตร 3  เดือน  สูตร  15-15-15    ครั้งละ 5-8  เม็ด
    7.  นำไปเก็บไว้ในที่ร่มรำไร  ประมาณ  21 วัน  จึงจะออกราก
    8.  ดูแลรักษาประมาณ  2  เดือน ก็แทงสายดิ่งออกมา  21  วันก็จะมีหม้อขนาดเล็ก  และก็จะขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ  แต่จะใหญ่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของต้นและภาชนะที่ปลูก  ถ้า ภาชนะเล็ก  ต้นเล็ก ลูกก็จะมีขนาดเล็ก


        เทคนิคในการปลูก

    1.  การรดน้ำ  ต้องรดให้มีความชื้นตลอดเวลา   กาบมะพร้าวจะอุ้มน้ำได้ดี  จึงทำให้ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเจริญเติบโตได้ดี
    2.  การใส่ปุ๋ย   การใส่ปุ๋ยออสโมโคส  จะต้องใส่รอบ ๆ โคนต้น ห่างจากการโคนต้นเล็กน้อย 
    3.  จะต้องตัดใบแห้ง  หม้อที่ออกมาแล้วแห้ง ออก เพื่อป้องกันการแย่งอาหารและโคนต้นโล่ง  ไม่เป็นโรคและแมลง


    กาบมะพร้าวสับที่แช่น้ำแล้ว 3 คืน
    ประโยชน์ของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
                 1.  ไว้กำจัดแมลง  ที่คอยมาทำลายพืชที่ปลูก
                2.  รักษาความสมดุลธรรมชาติ
                3.  เป็นไม้ประดับในการปลูกตกแต่ง
                4.  แผ่นใบ ที่กลายเป็นรูปหม้อ  ใช้ในการประกอบอาหาร  เช่น ข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง

                           

    วิธีง่ายๆในการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงตอนที่2

    เริ่มต้นง่าย ๆ ในการปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิง
           1.  สายพันธุ์  ได้แก่  พันธุ์ต่างประเทศ  พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ลูกผสม
          2.  วัสดุปลูก  บางคนจึงนำดินจากแหล่งปลูกมาปลูก  จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร  เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างกัน
          3.  สภาพแวดล้อมต่าง ๆ
                3.1  สถานที่ปลูก  ควรมีการถ่ายเทอากาศได้ดี
                3.2  แสงแดด  ชอบแสงแดด 60-80  วันละ 3-4  ชั่วโมง
                3.3  การให้น้ำ  ต้องการน้ำเปียกชื้นตลอดเวลา
                3.4  เครื่องปลูก 
                      ต่างประเทศ  ใช้สแฟกนั่มมอส
                      ประเทศไทย  ใช้กาบมะพร้าวสับแช่น้ำไว้ 3  คืน ก่อนปลูก
                3.5 ปุ๋ย  ใช้ปุ๋ยออสโมโคส สูตร 3  เดือน  สูตร  15-15-15 ใส่ครั้งละ  5-8  เม็ด



    สวนถาดแห้ง/ถาดทะเลทรายตอนที่3

    ข้อควรคำนึงในการจัดสวนถาดแห้ง
              1.  พันธุ์ไม้  ต้องทนต่อความแห้งแล้ง  ต้องการน้ำน้อย
                2.  ขนาดของพันธุ์ไม้ที่รูปทรงสวยงาม  กะทัดรัด เหมาะสมกับภาชนะ
                3.  ทราย หิน  ที่นำมาใช้ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติ
                4.  การรด รดน้ำพอชุ่ม  ไม่มากจนเกินไป  ถ้ามากต้นไม้จะเน่า

    การปฏิบัติดูแลรักษา
                1. รดน้ำ  วันเว้นวัน  รดน้ำพอชุ่ม
                2. นำไปออกแดด สัปดาห์ละ 2  ครั้ง  ครั้งละ  1-2  ชั่วโมง เป็นแสงแดดตอนเช้าและแสงแดตอนบ่าย  เนื่องจากแสงแดดไม่ร้อนจัด ไม่เผาต้นพืช
               3.  การใส่ปุ๋ย  ควรใส่ปุ๋ยออสโมโคส   สูตร  3 เดือน  ใส่ครั้งละ  3-8  เม็ด  รอบโคนต้นไม้



    ประโยชน์
    1. เป็นของฝาก  ของขวัญตามเทศกาลต่าง ๆ
    2.  ใช้การศึกษาการเจริญเติบโตของพืชทะเลทราย
    3.  ใช้ประดับตามโต๊ะทำงาน  มุมห้องรับแขก  ให้ดูสดชื่น   
    4. ทำเป็นอาชีพ  ก่อให้เกิดราย
    5.  ก่อให้เกิดอาชีพเสริม เช่น การขายพันธุ์ไม้และวัสดุในการจัดสวน
    6.  ทำให้ผู้ปลูก  จิตใจ อ่อนโยน  ลดความเครียดจากการทำงาน  ให้ดูสดชื่น



    สวนถาดแห้ง/ถาดทะเลทรายตอนที่2

    การจัดสวนถาดแบบแห้ง  หมายถึง การจัดสวนในภาชนะจำกัด โดยใช้พันธุ์ไม้ที่ห้องการน้ำน้อย  ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี  ซึ่ง  ผู้คนทั่วไปมักเรียกว่าการจัดสวนทะเลทราย
    วัสดุอุปกรณ์
    1.ดินผสม  ได้แก่ 
    ทรายหยาบ  2 ส่วน
    ดินร่วน  1  ส่วน
    ปุ๋ยคอก  1  ส่วน
    ขุยมะพร้าว  1  ส่วน

    1.พันธุ์ไม้  เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและต้องการน้ำน้อย ได้แก่  แคคตัสพันธุ์ต่าง ๆ  เช่น  ม้าลาย  คอนโดนางฟ้า  สับปะรด   ตะบองพ่อเฒ่า เล็บเหยี่ยว  แมมแม่เฒ่า  ถังทอง  นิ้วนางรำ หมวกตุรกี 
    3.หิน         
    4. ทรายสี
    5.ภาชนะสำหรับปลูก  ได้แก่  ถาด  จานรองต้นไม้   กระถาง  กระเช้า
    ขั้นตอนในการปฏิบัติ
    1.            เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
    2.            เขียนแบบแปลนในการจัด
    3.            หาเศษอิฐ หรือเศษกระถางแตก  มารองก้นกระถาง
    4.            นำดินผสมมาใส่กระถาง  ตามแบบที่เขียนไว้  
    5.            นำก้อนหิน  มาวางตามแบบ 
    6.            ปลูกต้นไม้ตามแบบ
    7.            ปรับดินให้เรียบตามแบบ
    8.            รดน้ำ
    9.          โรยด้วยทรายและหิน ตามแบบ


    สวนถาดชื้นตอนที่5

    ประโยชน์
    1. ใช้เป็นของที่ระลึก  ของฝากตามเทศกาลต่าง ๆ
    2.    ช่วยลดภาวะโลกร้อน
       3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์
       4.ทำเป็นอาชีพ  มีรายได้
    5.  ก่อให้เกิดอาชีพต่อเนื่อง  เช่น การขายวัสดุอุปกรณ์  การผลิตพันธุ์ไม้ 
    6. ช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย  ทำให้จิตใจสงบ
    7.  เกิดความผูกพันกับธรรมชาติ  รักธรรมชาติ


    สวนถาดชื้นตอนที่4

    ข้อควรคำนึงในการจัดสวนถาดชื้น

    1.                พันธุ์ไม้  จะต้องเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการน้ำมากอยู่ในร่มได้ดี
    2.                พันธุ์ไม้จะต้องเป็นพันธุ์ไม้ที่มีรูปทรงกะทัดรัด
    3.                เป็นการจัดเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด 


    การคิดคำนวณต้นทุน

    1.              คิดจากราคาวัสดุทั้งหมด  (ดินผสม หิน ตอไม้ พันธุ์ไม้  กระถาง  เห็ดปั้น  นกปั้น ผลไม้ปั้น)  มาเป็นต้นทุน
    2.              การคิดค่าแรง  โดยคิดจากราคาวัสดุทั้งหมด นำมาหาร 2
    3.              การขาย  = ต้นทุน + ค่าแรง

    การดูแลรักษา

    1.     รดน้ำด้วยสเปรย์ฝอยทุกวัน    เพื่อให้ได้รับความชื้น
    2.ใส่ปุ๋ยออสโมโคส  สูตร  15-15-15    ซึ่งอาจจะเป็นสูตร  3  เดือน  หรือสูตร 6เดือน  ใส่ครั้งละ    3-8  เม็ด/ต้น  ใต้โคนต้น  หรือจะใส่ปุ๋ยละลายน้ำก็ได้  แต่ต้องฉีดพ้นทุก ๆ  1 สัปดาห์
    3.  การดูแลรักษา  นอกจากจะใส่ปุ๋ย รดน้ำแล้ว  ก็จะต้องนำไปวางไว้ที่มีแสงรำไร หรือนำออกแดดตอนเช้า หรือเย็น  ครั้งละ 1 -2  ชั่วโมง  สัปดาห์ละ  1  ครั้ง
       4.การดูแลรักษาถ้าทำอยู่เป็นประจำ ก็จะมีอายุการใช้งานเป็นปีๆ   แต่ถ้าดูแลรักษาไม่ดี  1  สัปดาห์ก็จะแสดง อาการขาดน้ำ  ใบก็จะเริ่มเหี่ยว  มอสก็จะเริ่มเหลือง

    สวนถาดชื้นตอนที่3

    ขั้นตอนในการจัดสวนถาด

    1.  เตรียมวัสดุให้พร้อม 
    2.  ออกแบบการจัดสวน  โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติ  ได้สัดส่วน  กลมกลืนกัน
    3.  นำเศษอิฐแตก หรือเศษกระถางแตกรองก้นกระถาง   เพื่อป้องกันวัสดุปลูกไหลออก
    4.  นำดินผสมมาใส่ภาชนะปลูกและวางตอไม้  หรือแก่นไม้ตามแบบที่เขียนไว้
    5.  ปรับดินปลูกให้เรียบตามแบบแปลน
    6.  ปลูกต้นไม้ตามแบบแปลนที่เขียนไว้
    7. ปู มอส  โดยตัดตกแต่งให้เรียบและดูสวยงาม
    8.โรยหินเกล็ดน้ำตก
    9.  ตกแต่ง ด้วยรูปปั้นนก  เห็ดปั้น  ผลไม้ปั้น
    10.  รดน้ำโดยสเปรย์ฝอย 
    11.  นำไปวางตามมุมต่าง ๆ  ของบ้านหรือโต๊ะอาหาร โต๊ะรับแขก  หรือนำเป็นของอวยพรปีใหม่  ของที่ระลึก ก็ได้